หน้าหลัก > สาระน่ารู้วันนี้ > มารู้เรื่องประกันภัยกัน! คปภ. รวบรวมเรื่องประกันภัย 8 เคสตัวอย่างสำหรับบุคคลทั่วไป
มารู้เรื่องประกันภัยกัน! คปภ. รวบรวมเรื่องประกันภัย 8 เคสตัวอย่างสำหรับบุคคลทั่วไป
มารู้เรื่องประกันภัยกัน! คปภ. รวบรวมเรื่องประกันภัย 8 เคสตัวอย่างสำหรับบุคคลทั่วไป
08 Jan, 2024 / By finrwealthbuilder
Images/Blog/627LwSMN-8 เคส เรื่องประกันภัยน่ารู้ Banner_1024x768 (1).jpg

   ก่อนที่จะไปอ่านเคสตัวอย่างทั้ง 8 เคส อยากจะชวนเพื่อน ๆ มารู้จัก “การประกันภัย” กันก่อนว่าคืออะไร

   การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” โอนความเสี่ยงภัยของตนเองไปสู่ “บริษัทประกันภัย” ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเงินจํานวนหนึ่ง เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ให้แก่บริษัทประกันภัย ตามที่ได้ตกลงกันไว้ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นบริษัทประกันภัยจะชดใช้เงินหรือ “ค่าสินไหมทดแทน” ตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชนหรือทายาทแล้วแต่กรณี 

เพื่อน ๆ รู้ไหม ? การประกันภัยมี 2 รูปแบบ 
1) การประกันชีวิต ก็มี 2 แบบ คือ 
1.1) แบบทั่วไป ได้แก่ 
- สะสมทรัพย์ (Endowment/Saving) คุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือมีชีวิตอยู่ครบตามสัญญา
ตลอดชีพ (Whole Life) คุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี หรือ 99 ปี หรือตลอดชีพ
- ชั่วระยะเวลา (Term) คุ้มครองกรณีเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนด
- บำนาญ (Annuity) ได้รับเงินเป็นงวด ๆ เมื่อมีอายุครบตามที่กำหนด
1.2) แบบควบการลงทุน 
- ยูนิเวอร์แซล ไลฟ์ (Universal Life) กำหนดการจ่ายผลประโยชน์การเสียชีวิตที่แน่นอนส่วนผลประโยชน์การอยู่รอดขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันภัยที่เหลือสะสมบวกกับผลตอบแทนของบริษัทที่ได้จากการนำเบี้ยประกันภัยไปลงทุน
- ยูนิต ลิงค์ (Unit-Linked) คล้ายคลึงกับยูนิเวอร์แซล ไลฟ์  แตกต่างกันที่การลงทุนจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมที่ผู้เอาประกันภัยตัดสินใจผลตอบแทนจึงขึ้นอยู่กับราคาของกองทุนรวมนั้น ๆ 
2) การประกันวินาศภัย
2.1) การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายจากไฟไหม้ หรือฟ้าผ่า หรือการระเบิดของแก๊สและความเสียหายเรื่อจากภัยที่ระบุไว้เพิ่มเติมในกรมธรรม์
2.2 การประกันรถยนต์ (Automobile Insurance) ให้ความคุ้มครองควาวมเสียหายที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ได้แก่ ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินบุคคลภายนอก รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้ และความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสารแนบท้าย

เพื่อน ๆ คงเริ่มเข้าใจกันแล้วใช่ไหมว่า การประกันภัยคืออะไร 

   แต่นอกจากนี้ เมื่อทำประกันคุ้มครองความเสี่ยงไว้แล้ว แต่ถึงเวลาต้องใช้ ก็มีบางครั้งที่เราอาจเคยได้ยินว่า “เคสนี้ประกันภัยไม่รับเคลม” “ตัวแทนบอกเคลมไม่ได้” “เคสนี้โดนบอกไม่เข้าเงื่อนไข” 
   ถ้าเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นมาต้องทำยังไง ? เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับประชาชน คปภ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงได้รวบรวมเคสตัวอย่างจํานวน 8 ตอนที่น่าสนใจ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย

เรามาดูเคสตัวอย่างแรกกันเลย

เคสที่ 1 เรื่อง CASH BEFORE COVER

ใครเคยได้ยินคำว่า Cash Before Cover กันมาบ้าง?
วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง เล่าให้รู้กันผ่านเคสตัวอย่างนี้

การมีผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ตามหลัก Cash before cover 

   บริษัท เอ จำกัด ทำประกันภัยรถยนต์ ไว้กับบริษัท ประกันภัยบี จำกัด ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถเลขที่ 11111/Z000-1 ระยะเวลาเอาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 7 เมษายน 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566 เกิดเหตุเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ เสียชีวิต แต่บริษัทปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยโต้แย้งข้อเท็จจริงว่า ไม่ได้รับชำระเบี้ยประกันภัย จากบริษัท เอ จำกัด ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ ตามหลัก cash before cover ที่กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องชำระเบี้ย ประกันภัยก่อนกรมธรรม์จึงจะเริ่มมีผลคุ้มครอง
   ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า บริษัท เอ จำกัด มีการชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่นายหน้าประกันวินาศภัย หรือ บริษัทประกันภัยบี จำกัด และบริษัทมิได้มีการส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด

   ข้อกฎหมาย 
    คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
    ตามหลัก Cash before cover กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะมีผลใช้บังคับทันที เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ย ประกันภัยแล้ว โดยแบ่งผู้เอาประกันภัยเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1) ผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคลธรรมดา บุคคลดังกล่าวจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยก่อนหรือตรงกับวันที่กรมธรรม์ ประกันภัยเริ่มความคุ้มครอง แต่หากบริษัทได้มีการส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว หรือแสดงเจตนา โดยชัดแจ้งแก่ผู้เอาประกันภัยว่าจะให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้ผู้เอาประกันภัยยังไม่ชำระเบี้ยประกันภัย ก็ให้ถือว่าบริษัทสละสิทธิ์โต้แย้งตามเงื่อนไขนี้ และกรมธรรม์ประกันภัยมีผลคุ้มครองโดยสมบูรณ์
    2) ผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล บุคคลดังกล่าวสามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับ หากเกินระยะเวลาดังกล่าว มีผลทำให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลทันที เมื่อครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับ โดยถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่ประสงค์จะเอาประกันภัยอีกต่อไป และบริษัทไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวการยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไปยังผู้เอาประกันภัย

    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้ กรณีกรมธรรม์ระบุชื่อ “บริษัท เอ จำกัด” ซึ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นิติบุคคลดังกล่าว ได้มีการชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่นายหน้าประกันวินาศภัยหรือบริษัท ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับ กรมธรรม์ประกันภัยจึงสิ้นผลบังคับทันที เมื่อครบ 15 วัน นับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัย มีผลบังคับ และให้ถือว่าบริษัท เอ จำกัด ผู้เอาประกันภัยไม่ประสงค์จะเอาประกันภัยอีกต่อไป โดยบริษัทไม่จำต้องมี หนังสือบอกกล่าวการยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไปยังผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยฉบับดังกล่าวซึ่งเริ่มคุ้มครอง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 จึงสิ้นผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2565  ซึ่งเป็นไปตามหลัก Cash before cover

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 2 เรื่องสัญญาประกันภัย เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ

โดนปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดเเทน !
   โดยบริษัทประกันภันบอกว่า ยังไม่คุ้มครอง เพราะยังไม่ทันได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารใดๆ ให้กันไหม?
   วันนี้ คปภ. จะมาบอกึวามรู้สำคัญเรื่องประกันภัยเบื้องต้นว่าอันที่จริงเเล้ว บริษัทประกันภัยมีสิทธิ์ทำแบบนั้นหรือไม่ ผ่านเคสตัวอย่างนี้กันค่ะ

ลักษณะของสัญญาประกันภัย แบบของสัญญาประกันภัย 

    เมื่อเวลา 11.00  นาย B โทรศัพท์ไปที่บริษัทประกันภัยเพื่อซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ซึ่งบริษัทประกันภัยตอบตกลง ต่อมา เวลา 13.00 น.ของวันเดียวกัน นาย B ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิตบริษัท ปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยอ้างว่าบริษัทยังไม่คุ้มครองเพราะไม่ได้ออกกรมธรรม์ประกันหรือเอกสารใด ๆ ให้แก่ นาย B

    ข้อกฎหมาย
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 20 
    ประกันภัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 นิติกรรม 
    ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย
    1. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
    2. เป็นสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
    3. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
    4. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนไม่เท่าเทียมกัน
    5. เป็นสัญญาเพื่อการเสี่ยงภัยหรือเสี่ยงโชค
    6. เป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
    7. เป็นสัญญาที่อาศัยเหตุอันไม่แน่นอน
    8. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
    
    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในชั้นนี้ นาย B โทรศัพท์ไปที่บริษัทประกันภัยเพื่อซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และบริษัทได้ตอบตกลง เมื่อคำเสนอ-คำสนองถูกต้องตรงกันสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นทันที เมื่อสัญญาเกิดขึ้นต่อมา นาย B ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ นาย B ถึงแม้ว่าเป็น การซื้อประกันภัยผ่านช่องทางโทรศัพท์ ยังไม่ได้รับเอกสารหลักฐานใด ๆ จากบริษัท (ไม่มีลายลักษณ์/บริษัทยังไม่ออก กรมธรรม์ประกันภัย) มีเพียงไฟล์เสียงที่บันทึกไว้เท่านั้น เพราะสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ไม่ได้กำหนดแบบของสัญญาไว้ หากแต่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ  บริษัทไม่สามารถปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยอ้างว่ากรมธรรม์ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ได้ออกกรมธรรม์หรือเอกสารใด ๆ ให้ นาย B ได้

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 3 สัญญาที่อาศัยเหตุอันไม่แน่นอน

ใครเคยทำประกันภัยย้อนหลัง เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกันบ้าง แล้วมันทำกันได้จริงๆหรือ วันนี้เราจะมาเฉลยกันผ่านเคสนี้ค่ะ

ความหมายของการประกันภัย และหลักการประกันภัย

    นาย C เป็นเจ้าของรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 11 กข 2222 นนทบุรี ต่อมา วันที่ 24 กรกฎาคม รถยนต์เกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย วันที่ 27 กรกฎาคม นาย C ไปซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยแจ้งให้ บริษัทเริ่มคุ้มครองย้อนหลังไปถึงวันที่ 22 กรกฎาคม บริษัทตกลงรับประกันภัยและออกกรมธรรม์ประกันภัย ให้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย ต่อมา นาย C (ผู้เอาประกันภัย) เรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนจากกรณีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม แต่บริษัทปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยอ้างว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นก่อนรับประกันภัย ซึ่ง  นาย C (ผู้เอาประกันภัย) โต้แย้งว่าบริษัทตกลงรับประกันภัยและ มีผลคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม บริษัทจึงไม่สามารถปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้

    ข้อกฎหมาย
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 20 ประกันภัย
    มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหม ทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และใน การนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกกว่า “เบี้ยประกันภัย”
    การประกันภัย (Insurance) คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่งซึ่งโอนความเสี่ยงภัยจากผู้เอาประกันภัย ไปสู่บริษัทผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัย และผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายค่าเบี้ย ประกันภัยให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้ระบุ ความคุ้มครองไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้
    หลักการประกันภัย
    1. หลักส่วนได้เสียในการประกันภัย (Insurable Interest) ป.พ.พ. มาตรา 863
    2. หลักความสุจริตใจอย่างยิ่ง (Utmost Good Faith) ป.พ.พ. มาตรา 865,866
    3. หลักการชดใช้ค่าเสียหายตามความเป็นจริง (Indemnity) ป.พ.พ. มาตรา 877
    4. หลักการร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Contribution) ป.พ.พ. มาตรา 870,871
    5. หลักการรับช่วงสิทธิ์  (Subrogation) ป.พ.พ. มาตรา 880
    6. หลักสาเหตุใกล้ชิด (Proximate Cause) ไม่มีกฎหมายไทยบัญญัติไว้โดยตรง

    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้ การทำประกันภัย เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญา ประกันภัย หรือเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน ผู้รับประกันภัย มีหน้าที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดการสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัย ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย (Premium) ตามที่ระบุ ไว้ในสัญญา เพื่อให้ความคุ้มครองดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หากแต่การรับเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วินาศภัย ที่เกิดขึ้นแล้วจะเอามาประกันภัยไม่ได้ ประกอบกับผู้เอาประกันภัยต้องสุจริตใจที่จะเอาประกันวินาศภัยด้วย การที่ นาย C นำรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว มาแจ้งขอทำประกันภัย โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันก่อนเกิดอุบัติเหตุ บริษัท มีสิทธิปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุความคุ้มครองย้อนหลังเป็นวันที่ 22 กรกฎาคม ก็ไม่ทำให้ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์นั้นได้ และ การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายฉ้อฉลประกันภัย

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 4 หลักส่วนได้เสีย

หลักส่วนได้เสีย ในการประกันภัยคืออะไร และเกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ทำประกันภัยยังไง
เราจะมาเล่าให้ฟังกับประกันภัยเบื้องต้นโดย คปภ. กันค่ะ

   บริษัทขนส่งถังแก๊ส มีรถบรรทุกถังแก๊สหลายคัน ได้ทำประกันอุบัติเหตุพนักงานขับรถของตนไว้กับบริษัท ประกันภัย กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตไว้ 500,000 บาท โดยให้บริษัท ขนส่งถังแก๊สเป็นผู้รับประโยชน์ ระหว่างอายุสัญญาพนักงานคนหนึ่งขับรถบรรทุกถังแก๊สไปประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ เสียชีวิต บริษัทประกันภัยปฏิเสธความรับผิด โดยอ้างว่าบริษัทขนส่งถังแก๊ส มีเจตนาทำการพนันขันต่อโดยเอาชีวิตของลูกจ้างเป็นเดิมพัน สัญญาประกันอุบัติเหตุดังกล่าวสมบูรณ์หรือไม่ บริษัทประกันภัยต้องรับผิดหรือไม่ จำนวนเท่าใด

    ข้อกฎหมาย
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด
    ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย หมายถึง การที่บุคคลใดจะต้อง สูญเสียหรือได้รับความเสียหายถ้ามี เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้น หรือจะได้รับประโยชน์ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์อันใด อันหนึ่งเกิดขึ้น
    - เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย
    - ขณะตกลงทำสัญญาประกันภัย
    - ขณะเกิดวินาศภัย
    - ตลอดระยะเวลาประกันภัย
    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้ ตามหลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย (insurance interest) ผู้มีสิทธิ เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยเท่านั้น ทั้งนี้ในกรณีประกันวินาศภัย ส่วนได้เสียในเหตุ ประกันภัยได้แก่ การที่ผู้เอาประกันภัยมีส่วนเกี่ยวพันโดยชอบธรรมในทรัพย์ที่เอาประกัน ภัย คือมีกรรมสิทธิ์หรือ มีประโยชน์หรือมีความรับผิดชอบตามกฎหมายในวัตถุที่เอาประกันภัย จากกรณีคำถามบริษัทขนส่งถังแก๊ส มีฐานะเป็น นายจ้างของพนักงานย่อมมีความรับผิดต่อความละเมิดต่อบุคคลภายนอกในทางการที่จ้างของลูกจ้างและความรับผิด ของนายจ้างที่จะต้องจ่ายแก่ทายาทผู้อยู่ใต้การอุปการะของลูกจ้าง ดังนั้น นายจ้างจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิต ของลูกจ้างและสามารถทำประกันภัยอุบัติเหตุลูกจ้างของตนได้
    สัญญาประกันภัยนี้จึงไม่ใช่การพนันขันต่อและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย (ฎีกา 64/2516) 
    เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย บริษัทประกันภัย จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไข ของกรมธรรม์ประกันภัย กล่าวคือ จำนวน 500,000 บาท            ทั้งนี้ในกรณีที่บริษัทประกันภัย มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต/วินาศภัยมีข้อห้ามไม่ให้บริษัทประกัน ชีวิต/วินาศภัยประวิงการใช้เงินแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท และหากเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 5 บริษัทประกันภัยปฎิเสธการชดใช้?

ทุกคนอยากรู้ไหม กรณีไหนบ้างที่บริษัทประกันชีวิตอาจปฏิเสธการชดใช้จำนวนเงินเอาประกันภัยได้

   นาง O ทำประกันชีวิตจำนวนเงินเอาประกันภัย 900,000 บาท โดยระบุชื่อผู้รับประโยชน์ 3 คน คือ 1. นาย A 2. นาย B 3. นาย E ให้ได้รับประโยชน์คนละเท่า ๆ กัน ต่อมานางวันทอง ถูกประหารชีวิต บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
    
    ข้อกฎหมาย
    การประกันชีวิต (Life Insurance) หมายถึง การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้จ่ายเงิน จำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้กับบริษัทประกันชีวิต เพื่อซื้อความ คุ้มครองการเสียชีวิต ครอบคลุมไปถึงการสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ภายในเวลาที่ กำหนด หรือมีอายุยืนยาวจนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรีย กว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย” ให้แก่ “ผู้รับผลประโยชน์” หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เงื่อนไขความคุ้มครองจะ มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อตามความเหมาะสมของผู้เอาประกันภัยเป็นหลัก
    กรณีบริษัทผู้รับประกันชีวิตอาจปฏิเสธการชดใช้จำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์หรือ ผู้รับประโยชน์
    1. ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อความจริง หรือแถลงเท็จ
    2. ฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีนับแต่วันทำสัญญาหรือต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย
    3. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันชีวิตโดยเจตนา
    4. การเสียชีวิตโดยธรรมชาติในระยะเวลารอคอย
    5. กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ
    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้ บริษัทผู้รับประกันภัยจะปฏิเสธการชดใช้จำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ ผู้เอาประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อความจริง หรือแถลงเท็จ  หรือผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาหรือต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย หรือผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันชีวิตโดยเจตนา หรือ การเสียชีวิตโดยธรรมชาติในระยะเวลารอคอย และกรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ เมื่อ นาง O ประหารชีวิตโดยผู้รับประโยชน์ทั้ง 3 รายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย บริษัทต้องจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาให้แก่ผู้รับประโยชน์ ตามส่วนที่กำหนด

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 6 ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

   อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว จนเป็นเหตุที่ทำให้รถของเราเสียหายไม่สามารถใช้งานรถได้ โดยที่เราเป็นฝ่ายถูก เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง  “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” รู้จักคำนี้ไหมค่ะ ? เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถใช้สิทธิ์ได้อย่างถูกต้อง  วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังถึงเคสการเรียกค่าขาดการใช้ประโยชน์รถยนต์  ในความรู้ประกันภัยเบื้องต้นโดยคปภ. กันค่ะ

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
    นางสาว F ขับขี่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 11-123 กท เอาประกันภัยประเภท 1 ไว้กับบริษัท ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ต่อมาเกิดเหตุเฉี่ยวชนรถยนต์ นางสาว F คันหมายเลขทะเบียน 22-234 กท ซึ่งเอาประกันภัย ประเภท 1 ไว้กับบริษัท ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นให้รถยนต์ของนางสาว F ได้รับความเสียหาย พนักงาน สอบสวนมีความเห็นว่านาย ข เป็นฝ่ายประมาท นางสาว F ได้นำรถยนต์เข้าซ่อมเป็นเวลา 7 วัน และเรียกร้องค่าขาด ประโยชน์กับบริษัท ประกันภัย เป็นเวลา 7 วัน วันละ 800 บาท บริษัท ประกันภัยพิจารณาค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ให้นางสาว F เป็นเวลา 7 วัน วันละ 400 บาท การพิจารณาของบริษัทประกันภัยถูกต้องหรือไม่

    ข้อกฎหมาย
    คำสั่งนายทะเบียนที่ 10/2563
    หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก 
    ข้อ 1. ข้อตกลงคุ้มครอง 
    ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 
บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพยสิน ของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวน เงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตาราง
    กรณีเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก และมีการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการขาด การใช้ประโยชน์รถยนต์ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง ทั้งนี้ สำหรับรถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือ รถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่ไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีที่ นั่งไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท และรถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสาร รวมทั้งผู้ขับขี่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
    ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินค่าชดเชยที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ของฝ่ายที่ผิด ต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่เป็นฝ่ายถูกจากการเสียประโยชน์ที่ไม่มีรถใช้ในระหว่างการซ่อม ซึ่งผู้ที่เป็นฝ่ายถูกต้องเป็น คนเรียกร้องสิทธิ์ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถกับบริษัทประกันฯ ของผู้ที่เป็นฝ่ายผิดด้วยตัวเอง และฝ่ายที่ผิดต้องมี การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจึงจะเรียกร้องค่าชดเชยในส่วนนี้ได้
    สืบเนื่องจากนายทะเบียนได้มีคำสั่งที่ 10/2563 เรื่องให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ กรณีเกิด ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และมีการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้ประโยชน์รถยนต์ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง
    1. รถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่ไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
    2. รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
    3. รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่เกิน 7 คน ในอัตรา ไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
    ทั้งนี้ กรณีรถยนต์ประเภทอื่นที่ไม่ได้ถูกกำหนดอัตราไว้ข้างต้นสามารถเรียกร้องได้ตามความเสียหายที่แท้จริง

     จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้นต้องพิจารณา ให้เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียน คือ รถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่ไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท การที่บริษัทประกันภัย พิจารณาค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้นางสาว F เป็นเวลา 7 วัน วันละ 400 บาท นั้นถือว่าไม่ถูกต้อง บริษัทควรพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียน กำหนดหรือพิจารณาตามความเสียหายที่แท้จริง

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 7 ประกันชีวิตเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล

   ทุกท่านเคยได้ยินคำว่า "การประกันชีวิตเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล" การบ้างไหมคะ เรามาทำความเข้าใจถึงหลักของการประกันชีวิต และการประกันภัยวินาศภัยเบื้องต้นกันค่ะ

    นางสาว G ให้เงินนาย V ซื้อคอนโดหรู 1 ห้อง และให้นาย V ทำประกันชีวิตเพื่อค้ำประกันสินเชื่อกู้ซื้อคอนโด โดยระบุให้ธนาคารและนางสาว G เป็นผู้รับประโยชน์ บริษัทตกลง รับประกันชีวิตนาย V ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ต่อมาทั้งสองคนมีปัญหากัน นาย Vได้ขโมยพระเครื่องและ หอบของออกไปจากคอนโด นางสาว G โกรธมากไปฟ้องศาลเรียกคอนโดคืน ผลปรากฏว่าศาลมีคำพิพากษาให้ นางสาว G ชนะคดีเป็นเจ้าของคอนโดเพราะ นางสาว G เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ส่วนนาย V เป็นเพียงตัวแทนไปซื้อ คอนโดเท่านั้น นางสาว G จึงมีหนังสือไปถึงบริษัทประกันชีวิตแจ้งให้บริษัทเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันชีวิตจากนาย V เป็น นางสาว G นางสาว G สามารถกระทำได้หรือไม่

    ข้อกฎหมาย
    การประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) คือ การประกันภัยทุกประเภทที่นอกเหนือจาก การประกันชีวิต โดยผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ผู้เอาประกันภัยหากทรัพย์สินที่ทำประกันภัย เอาไว้เกิดความสูญเสีย หรือ เสียหายจากภัยต่างๆ ซึ่งความเสียหายนั้นสามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้
    การประกันชีวิต (Life Insurance) หมายถึง การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้จ่ายเงิน จำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้กับบริษัทประกันชีวิต เพื่อซื้อความ คุ้มครองการเสียชีวิต ครอบคลุมไปถึงการสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ภายในเวลาที่ กำหนด หรือมีอายุยืนยาวจนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย” ให้แก่ “ผู้รับผลประโยชน์” หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เงื่อนไขความคุ้มครองจะ มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อตามความเหมาะสมของผู้เอาประกันภัยเป็นหลัก
    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้ การประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) เป็นการประกันภัย ทรัพย์สิน วัตถุหรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัย และจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีภัยตามที่ระบุในสัญญาเกิดขึ้นในอนาคต (ความเสียหายที่พึงประเมินเป็นเงินได้) ส่วนการประกันชีวิต (Life Insurance) บริษัทผู้รับประกันภัย จะอาศัยความทรงชีพ/มรณะของผู้เอาประกันภัยเป็นข้อกำหนดในการใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย/ ผู้รับประโยชน์ เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล การที่ นางสาว G นำคำพิพากษาของศาลแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองคอนโดได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า นางสาว G จะแจ้งเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันชีวิตจากนาย V เป็น นางสาว G ได้เนื่องจาก บุคคล ที่ถูกประเมินความเสี่ยงภัยล่วงหน้าและกรอกข้อเท็จจริงในใบคำขอเอาประกันชีวิต คือ นาย V บริษัทจะอาศัย ความทรงชีพ/มรณะของนาย V ในการเอาประกันชีวิต ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันชีวิต ตามความต้องการของ นางสาว G ได้

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

เคสที่ 8 บริษัทบอกล้างสัญญา

โดนบริษัทประกันภัยบอกล้างสัญญา!!  บริษัทประกันภัยมีสิทธิไหม  เรามาศึกษาจากเคสตัวอย่างนี้กันค่ะ

    นาย H ทำประกันชีวิตไว้กับบริษัท ก. ต่อมา นาย H เสียชีวิตลง บริษัทตรวจสอบหลักฐานพบว่า ก่อนที่ นาย H รจะทำประกันชีวิตกับบริษัท นาย H ไปพบแพทย์และตรวจพบมีการอักเสบของตับ ซึ่งตามรายงาน แพทย์ได้แนะนำให้ได้รับการวินิจฉัยต่อไป แต่ในการขอเอาประกันภัย นาย H แถลงว่าตนมิได้ป่วยเป็นโรคตับ จะถือว่า นาย H ปกปิดข้อเท็จจริงและสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ บริษัทจึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญาได้หรือไม่ อย่างไร

    ข้อกฎหมาย
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    มาตรา 863 ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่ง อาจจะได้จูงใจผู้รับ ประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
    ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือ มิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป
    จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นนี้    หน้าที่เปิดเผยความจริงของผู้เอาประกันภัย   (หลักสุจริตอย่างยิ่ง)ในเวลาทำสัญญา หากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ กล่าวคือ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา ถ้ามิได้ใช้ สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายใน กำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญา สิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ผลของการปกปิดหรือแถลงเท็จเกี่ยวกับข้อเท็จจริง สัญญา เป็น โมฆียะ หากสัญญาเป็นโมฆียะผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะ บอกล้างได้แต่ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันทำสัญญา
    การอ้างว่าผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแถลงเท็จ ข้อเท็จจริงนั้นผู้เอาประกันภัยต้องรู้มาก่อนว่า ตนป่วยด้วยโรคที่เป็นสาระสำคัญที่บริษัทจะบอกล้างสัญญาได้ บริษัทจะยกเอาความไม่รู้ของผู้เอาประกันภัยมาเป็น เหตุบอกล้างสัญญาไม่ได้ การที่รายงานแพทย์ได้แนะนำให้ได้รับการวินิจฉัยต่อไปแสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าป่วยเป็นโรคตับ อักเสบหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่ายอังคารทราบว่าตนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น การที่ นาย H มิได้แจ้งผลการตรวจ โรคในแบบสอบถามของบริษัท จึงมิใช่กรณี นาย H รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจ บริษัทให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 วรรคแรก สัญญาประกันชีวิต ไม่เป็นโมฆียะบริษัทไม่มีสิทธิบอกล้าง

เข้าไปดูวิดีโอเคสตัวอย่างได้ที่ facebook

จากเคสตัวอย่างทั้ง 8 เคส น่าจะทำให้เข้าใจเรื่องประกันภัยมากขึ้น หรือถ้าเพื่อน ๆ มีข้อส่งสัยเรื่องประกัน ถามเรา คปภ. ได้เลยนะ

สายด่วน คปภ. 1186
Website : oic.or.th
Line : @oicconnect

Like